วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์
           ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) หรือเรียกสั้นว่าไวรัสคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยิยยอมจากผู้ใช้ส่วนมากมักจะพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆซึ่งไวรัสแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
1.ไวรัสพาราสิต (parasitic virus) ไวรัสประเภทนี้จะเริ่มทำงานหรือจำลองตัวเองเมื่อเรียกใช้ไฟล์ที่ติดไวรัส ไวรัสคอมพิวเตอร์โดยส่วนมากเป็นประเภทนี้
2.ไวรัสบูตเซกเตอร์ (boot  sector  virus) ไวรัสประเภทนี้จะฝังตัวลงไปในบูตเซนเตอร์  แทนที่คำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์  เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้การทำงานไวรัสประเภทนี้จะโหลดตัวเองเข้าไปที่หน่วยความจำก่อนที่จะโหลดระบบปฏิบัติการ หลังจากนั้นจะสำเนาตัวเองไปฝังกับไฟล์อื่นๆด้วย
3. ไวรัสสเตลท์  (stealth virus) ไวรัสประเภทนี้มีความสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมป้องกันไวรัสต่างๆตรวจไม่พบ และเมื่อไปติดกับโปรแกรมใด แล้วจะทำให้นั้นมรขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
4. ไวรัสโพลีมามอร์ฟิก (polymorphic  virus) ไวรัสประเภทนี้จะมีผลการเปลี่ยนแปลงตัวเองทุกครั้งที่ติดต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะส่งผลทำให้ไวรัสประเภทนี้ตรวจพบได้ยาก
5.ไวรัสแมโคร (macro  virus) ไวรัสประเภทนี้จะมีผลกับ  Macro  Application (มักจะพบในโปรแกรมประเภท  Word  Processors)  เมื่อผู้ใช้เรียกใช้ไฟล์ที่มีไวรัสติดมาด้วย  จะทำให้ไวรัสไปฝังตัวอยู่ที่หน่วยความจำจนเต็ม  ซึ่งจะทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลง  และอาจส่งผลเสียกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ได้
6.หนอนอินเทอร์เน็ต  (worms) เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่จะติดต่อได้ทางอินเทอร์เน็ตสามารถกระจายได้อย่างรวดเร็ว  โดยไวรัสชนิดนี้จะตัวเองซ้ำแล้วใช้ระบบเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการแพ่กระจายซึ่งโดยทั่วไปจะมากับอีเมล  ตัวอย่างของหนอนอินเทอร์เน็ต  คือ Adore โดยจะทำการค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ Linux หลังจากนั้นจะสร้างช่องทางคอมพิวเตอร์ให้แฮกเกอร์ (hacker)สามารถเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้
ที่มา: หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร2



วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สู้เพื่อแม่

สู้เพื่อแม่
น้ำทะเลยังมีขึ้นมีลง
น้ำใจแม่มั่นคงซื่อตรงอยู่ทุกเวลา
น้ำฝนยังตกในบางครา
แต่น้ำใจมารดา มีให้ตลอดไป
                                       
            วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันสำคัญที่ใครๆต่างก็รู้ว่าเป็น วันแม่แห่งชาตฺิ  ถึงแม้แม่จะอยู่ไกลแม้ไม่ได้กอดแม่ในเวลาที่อยากกอด อยากพูดคุยกับแม่อยากให้แม่รับรู้เรื่องราวที่อยากจะเล่าอยากจะปรึกษาแต่ก็ยังมีพ่อคอยอยู่เคียงข้างเสมอและยังมีกำลังใจจากแม่มาตลอด วันแม่ปีนี้ไม่แน่ใจว่าแม่จะได้กลับมามั้ยแต่หนูอยากบอกว่า ขอโทษกับทุกอย่างที่ทำลงไปทุกวันนี้ไม่เคยรู้สึกขาดแม่เลยแม่ยังอยู่ข้างๆเสมอ
             อยากจะเป็นคนดีให้แม่ภูมิใจอยากเรียนจบมีงานทำให้แม่ชื่นใจแม่ไม่เคยที่จะตีจะว่าให้อภัยมาเสมอ จนทำให้เสียนิสัยกลายเป็นเด็กก้าวร้าว ชอบเถียงพ่อกับแม่ คอยปกป้องเวลาโดนพ่อตี คอยรับไม้รับคำด่า พาหนูไปกินแต่ของดีๆ แต่กลับเถียงเถียงแม่ทำให้แม่ร้องให้ ไม่ยอมรับโทรศัพท์ชอบทำตัวเหลวใหลแต่ลูกแย่ๆคนนี้รักแม่ที่สุดขอโทษกับทุกๆเรื่องโอ๋มาตลอด เเม้หนูจะทำเกรดเรียนไม่ดีก็ยังไม่ว่าไม่ยอมช่วยเหลืออะไรเหลือทำตัวไร้สาระไปวันๆเอาแต่เที่ยวเล่น ไม่สนใจแม่ขออะไรก็ทำเป็นไม่สนใจ ดีแต่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนชอบก่อปัญหาชอบคิดว่าแม่ไม่รักเราเลย จนมีไปทะเลาะกับญาติไปเถียงเขา ไม่ยอมใครไม่สนใจ  ใครจะดูถูกแม่ยังใงว่าแม่ว่าสอนลูกไม่ได้เรื่อง แต่สำหรับหนูแล้วแม่ที่ดีกว่านี้ก็ไม่เอา หนูรักแม่มากน้ะ จะไม่ทำให้แม่เสียใจอีกแล้ว
             ฃอบคุณทุกๆอย่างที่แม่มอบให้  ดูแลมาอย่างดี  ทนเจ็บ ทนเหนื่อยเพื่อหนูใครจะว่าเรายังไงก็ได้แต่ไม่อยากให้คนมาว่าแม่  แม่คนนี้ก็เป็นแม่ที่เรารักมากที่สุด ขอให้แม่เดินทางปลอดภัย อยู่กับหนูนานๆนะ                                                                
                                                            
หญิงคนนี้ ที่เราควร จะกราบไหว้
หญิงคนที่ เราทั้งหลาย ควรฝันหา
หญิงคนนั้น คนที่เรา เรียกมารดา
หญิงคนที่ เสียน้ำตา ตอนคลอดเรา

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

งานการปลูกผักของฉัน

                   วันนี้ฉันเอารูปผักมา ส่งครูตอนแรกนึกว่าจะรอดแร้ว แต่ ถูกทำโทษตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่าเราโดนเรื่องอะไรพอครูรู้ว่าเราขี้โกงก็โดนปั่นจิ้งหรีดใป  8  รอบตอนแรกมานึกขึ้นได้ว่าต้องปลูกผักก็ให้พ่อใปเอาตะใคร่มาแช่น้ำคืนนึงตอนเย็นก็กลับมาถ่ายรูปอีกวันนึงก็ถ่ายรูปอีกแต่จุดใครแม้กมันอยู่ที่ขี่จักรกยานใปถ่ายรูปตอนโตเต็มที่ของต้นตะใคร่อีกต้นนึงมาใส่เป็นต้นเดียวกัน:)....

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษ: computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำ,หน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้

เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 6 แบบ ได้แก่

  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
  • เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล เช่น โน้ตบุ๊ก มือถือ อาจมีสายหรือไร้สายก็ได้
  • เครือข่ายข้อมูล หรือ แซน (Storage area network) : SAN) เป็นเครือข่าย (หรือเครือข่ายย่อย) ความเร็วสูงวัตถุประสงค์เฉพาะที่เชื่อมต่อภายในกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดต่างกันด้วยแม่ข่ายข้อมูลสัมพันธ์กันบนคัวแทนเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ใช้

คือชุดของกฎหรือข้อกำหนดต่างๆสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเครือข่าย ในโพรโทคอลสแต็ค (ระดับชั้นของโพรโทคอล ดูแบบจำลองโอเอสไอ) แต่ละโพรโทคอลยกระดับการให้บริการของโพรโทตคลที่อยู่ในชั้นล่าง ตัวอย่างที่สำคัญในโพรโทคอลสแต็คได้แก่ HTTP ที่ทำงานบน TCP over IP ผ่านข้อกำหนด IEEE 802.11 (TCP และ IP ที่เป็นสมาชิกของชุดโปรโตคอลอินเทอร์เน็ต. IEEE 802.11 เป็นสมาชิกของชุดอีเธอร์เน็ตโพรโทคอล.) สแต็คนี้จะถูกใช้ระหว่างเราต์เตอร์ไร้สายกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้ตามบ้านเมื่อผู้ใช้จะท่องเว็บ
โพรโทคอลการสื่อสารมีลักษณะต่างๆกัน ซึ่งอาจจะเชื่อมต่อแบบ connection หรือ connectionless, หรืออาจจะใช้ circuit mode หรือแพ็กเกตสวิตชิง, หรืออาจใช้การ addressing ตามลำดับชั้นหรือแบบ flat
มีโพรโทคอลการสื่อสารมากมาย บางส่วนได้อธิบายไว้ด้านล่า


ที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรฐกิจพอเพียง

หอมแผ่นดิน ตอน...เพาะรักงอกงาม
เผยแพร่เมื่อ 2 พ.ย. 2014
หอมแผ่นดิน ตอน เพาะรักงอกงาม ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 2 พ.ย.2557
เรื่องราวของคุณนิมิตร์ เทียมมงคล เกษตรกรหัวใจงอกงาม กัลการปลูกถั่วงอกตัดรากเพื่อหลีกเลี่ยงกา­รใช้สารเคมี และได้ต้นถั่วงอกที่ต้นน่ารับประทานแบบปลอ­ดภัยต่อสุขภาพ โดยการเพาะถั่วงอกตัดรากแบบคอนโดสี่ชั้น


ที่มาhttps://www.youtube.com/watch?v=anD_4rLOy-U

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และต้องประกอบไปด้วยสองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไข  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้

ข้อที่ 1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา

ข้อที่ 2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

ข้อที่ 3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
  1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
ข้อที่ 4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้
  1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ข้อที่ 5. 
แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
ที่มา:http://xn--12cmc4a2ea2ac8bl2czera7lj.net/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87.html

นั่นคือ หลักแนวคิด และแนวทางเพื่อการปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติตามได้
คุณธรรม เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ประกอบไปด้วยอะไรบ้างนั้น เราได้สรุปรวบยอดมาให้เข้าใจได้ง่ายๆ พร้อมทั้งนำภาพประกอบความเข้าใจ มาให้ดูด้วยเพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้งขึ้น ซึ่ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข นั้น แท้จริงแล้ว เป็นบทสรุปของเศรษฐกิจพอเพียง นั่นเอง คือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้
3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้

  • ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
  • ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
  • ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

นั่นคือสรุปรวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วคงกระจ่างกันสักที เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น
ที่มา:http://xn--12cmc4a2ea2ac8bl2czera7lj.net/3%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%872%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82.html

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ซอฟต์แวร์

          
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์

  ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศไปได้ตามที่ต้องการ
ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อ
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้อง
ทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/